Get Adobe Flash player

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานฯ

Sahafr

บาทหลวงอนุรัตน์ ณ สงขลา

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูต อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Facebook


banner face holych Custombanner_face_pmg_Custom.pngPresentation2 Custom

งานอื่นๆของฝ่าย

Slide6 CustomSlide5 Custom

เวลา

25 เมษายน นักบุญมาร์โก (ศตวรรษที่ 1) ผู้นิพนธ์พระวรสาร

     ผู้นิพนธ์พระวรสารนักบุญมาร์โก หรือ ยวง มาร์โก (กจ 12, 12.25 ; 15, 37) ถือกำเนิดจากครอบครัวที่มีเชื้อสายเป็นชาวกรีกแต่อาศัยอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็ม และท่านเองได้ให้พวกคริสตชนรุ่นแรกๆได้ใช้บ้านของท่านเป็นที่ชุมนุมกัน (กจ 12, 12-16) และอาจจะเป็นไปได้ที่พระเยซูเจ้าและบรรดาสานุศิษย์ของพระองค์ได้ใช้บ้านนี้เป็นที่รับประทานอาหารค่ำครั้งสุดท้ายด้วย

     นักบุญมาร์โก ได้เป็นเพื่อนร่วมทางของนักบุญเปาโล ในการเดินทางแพร่ธรรม (กจ 12, 25 ; 13, 5) แต่รู้สึกว่า ท่านไม่สู้มีความกระตือรือร้นกับการเดินทางแพร่ธรรมของนักบุญเปาโลมากนัก ท่านจึงได้กลับมาที่กรุงเยรูซาเล็มแต่เพียงคนเดียว (กจ 13,13) และตามที่ปรากฏแก่ท่าน รู้สึกว่าจะได้มีการโต้เถียงกันอย่างรุนแรงพอสมควรระหว่างนักบุญเปาโล และนักบุญบาร์นาบัส ในโอกาสเตรียมตัวเดินทางแพร่ธรรมครั้งที่ 2 ของนักบุญเปาโล (กจ. 15, 39 – 40)
     ต่อมาท่านได้ติดตามนักบุญเปโตร มาที่กรุงโรมและคอยรับใช้ให้ความช่วยเหลือนักบุญเปโตร ในขณะที่โดนขังคุกอยู่ (คส 4,10) และในที่สุด ท่านยังได้คอยรับใช้นักบุญเปาโล เวลาที่โดยขังคุกอีกด้วย (2 ทธ 4,11)
    นักบุญมาร์โก ได้เสนอรูปแบบของพระเยซูเจ้าที่ถูกค้นพบโดยอาศัยประสบการณ์ของบรรดาอัครธรรมทูตและของพวกสานุศิษย์เอง ในโลกเราทุกวันนี้ เวลาที่เราจะแสดงรูปแบบของพระเยซูเจ้าให้คนอื่นเขาก็มักจะถามว่า “เขาผู้นั้นเป็นใครกัน” พระวรสารของท่านมีทัศนวิสัยพิเศษ ซึ่งแตกต่างจากพระวรสารเล่มอื่นๆ คือมีความขัดแย้งกันที่เจ็บปวดระหว่างพระคริสตเจ้าที่ประกอบด้วยความสามารถพิเศษในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ (1,31) ในการยกบาป (2,10) ในการมีชัยชนะต่อปีศาจ (1, 24-27 ; 1,34 ; 3,11.23 ; 5,7) กับพวกผู้คนที่สบประมาทเยาะเย้ยพระองค์ (5,40 ; 6,2 ; 15,29-32) และต้องการให้พระองค์ต้องพินาศไป (3,6 ; 12,13 ; 14,1) และเมื่อสบโอกาส นักบุญมาร์โก ก็มิได้ลังเลใจที่จะเสนอความขัดแย้งอันเดียวกันนี้ภายในกลุ่มของพวกอัครธรรมทูตเอง ( 4,13) ทั้งจากครอบครัวของพระคริสตเจ้าเองด้วย (3,20-37)

     ท่านได้อธิบายความขัดแย้งกัน “อันเป็นที่สะดุด” นี้ ให้กับรหัสธรรมปัสกาเองด้วย (16) โดยท่านได้พยายามให้เห็นว่า แผนการอันลึกซึ้งของพระเป็นเจ้าได้สำเร็จไปในองค์พระผู้ไถ่ ( 8,31 ; 9,3 ; 10,33) และแผนการนี้เราจะสามารถพบได้ในกระแสเรียกของคริสตชนทุกคนอีกด้วย (8,34 ; 9,35 ; 10,24-39 ; 13, 9-13)
     พระวรสารของพระแมสซีอาห์ที่โดนเขาสบประมาทเยาะเย้ย ที่ต้องทนทุกข์ยากลำบากและที่สุดต้องถูกตรึงที่ไม้กางเขนได้ช่วยทำให้นายร้อยคนนั้นได้ยอมประกาศความเชื่อของตนว่า “แน่ละบุรุษผู้นี้จะต้องเป็นบุตรของพระเจ้า”
     นักบุญมาร์โก เป็นผู้นิพนธ์พระวรสารที่ได้แสดงให้อย่างแจ้งชัดถึงการทรยศของยูดาสและของนักบุญเปโตร มากกว่าผู้นิพนธ์พระวรสารองค์อื่นๆ การขายพระคริสตเจ้าหรือการปฏิเสธไม่ยอมรับพระองค์ในบรรดาพี่น้องคริสตชนทั้งหลายก็เป็นการทรยศเหมือนกันที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังของการที่เรามาร่วมรับประทานที่โต๊ะศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์มิใช่หรอ
คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ
1. ขออย่าให้คริสตชนคนใดปฏิเสธไม่ยอมรับรู้พระคริสตเจ้าในบรรดาพี่น้องของตน
2. ขออย่าให้ใครได้ขายพระคริสตเจ้า โดยการเอารัดเอาเปรียบหรือขี้โกงบรรดาพี่น้องของตน
3. ในทุกๆสภาพการณ์ของชีวิต ให้เราได้รู้จักที่จะตัดสินใจอยู่ข้างพระคริสตเจ้า
4. ขอให้กิจการทุกชิ้นทุกอันของเราจงเป็นพยานยืนยันที่มีชีวิตชีวาเพื่อพระคริสตเจ้าด้วยเถิด
(ที่มา : ย.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช, ประวัตินักบุญตลอดปี, นครปฐม, วิทยาลัยแสงธรรม สามพราน, 1985, หน้า 141 -144)

ศึกษาพระคัมภีร์

Catholic bible

ค้นหา

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

bkk2020

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

เรื่องมาตรการและแนวทางภาคปฏิบัติ

เพื่อการเข้าร่วมพิธีกรรมของคริสตศาสนิกชนคาทอลิก

แรงจูงใจในการประกาศพระวรสาร

 

บทความดีดี