Get Adobe Flash player

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานฯ

Sahafr

บาทหลวงอนุรัตน์ ณ สงขลา

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูต อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Facebook


banner face holych Custombanner_face_pmg_Custom.pngPresentation2 Custom

งานอื่นๆของฝ่าย

Slide6 CustomSlide5 Custom

เวลา

ระยะเวลาของการเป็นคริสตชนใหม่

  • เพื่อให้ก้าวแรกๆ ของผู้ได้รับศีลล้างบาปใหม่มั่นคงยิ่งขึ้น สมควรอย่างยิ่งที่ชุมนุมสัตบุรุษ พ่อแม่อุปถัมภ์ และจิตตาภิบาลทั้งหลาย จะตั้งใจช่วยเขาอย่างสนิทใกล้ชิดในทุกๆ โอกาส ให้เอาใจใส่สอดส่องเป็นอย่างดี ให้เขาได้เข้าร่วมในหมู่คณะอย่างเต็มที่ และด้วยความรู้สึกชื่นชอบ (ข้อ 235)
  • ตลอดเทศกาลปัสกา ในมิสซาวันอาทิตย์ ให้จัดที่พิเศษเฉพาะสำหรับผู้รับศีลล้างใหม่ในหมู่สัตบุรุษ ให้ผู้รับศีลล้างบาปใหม่ทุกคนเอาใจใส่ร่วมบูชามิสซากับพ่อแม่อุปถัมภ์ ในบทเทศน์ และถ้าเห็นสมควร ในบทภาวนาเพื่อมวลชนด้วย ให้คำนึงถึงผู้รับศีลล้างใหม่ด้วย (ข้อ 236)
  • ก่อนจะสิ้นเวลาการเป็นคริสตชนใหม่ในตอนปลายเทศกาลปัสกา ราวๆ วันอาทิตย์วันสมโภชพระจิตเจ้า ให้มีพิธีอะไรสักอย่าง พร้อมกับเพิ่มความครึกครื้นภายนอกตามประเพณีของท้องถิ่นด้วย (ข้อ 237)
  • ในวันครบรอบปีที่ได้รับศีลล้างบาป สมควรอย่างยิ่งที่ผู้รับศีลล้างบาปใหม่จะชุมนุมกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอบคุณพระเป็นเจ้า เพื่อสนทนากันถึงประสบการณ์ฝ่ายวิญญาณ และเพื่อชุบกำลังให้มีเรี่ยวแรงใหม่ (ข้อ 238)
  • เพื่อทำการติดต่อคบหากับสมาชิกใหม่ในกลุ่มของสัตบุรุษของตน ถ้าพระสังฆราชไม่ได้เป็นประธานเองในพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่รับเข้าเป็นคริสตชน ก็พึงพยายามพบปะกับผู้ได้รับศีลล้างบาปใหม่อย่างน้อยปีละครั้งเท่าที่จะกระทำได้ จะได้เป็นประธานในบูชามิสซา ในมิสซานั้นอนุญาตให้ผู้รับศีลล้างบาปใหม่รับศีลมหาสนิทในรูปปังและเหล้าองุ่น (ข้อ 239)

 

(จากหนังสือพิธีรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน ข้อ 235-239 หน้า 159)

ศึกษาพระคัมภีร์

Catholic bible

ค้นหา

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

bkk2020

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

เรื่องมาตรการและแนวทางภาคปฏิบัติ

เพื่อการเข้าร่วมพิธีกรรมของคริสตศาสนิกชนคาทอลิก

แรงจูงใจในการประกาศพระวรสาร

 

บทความดีดี