Get Adobe Flash player

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานฯ

Sahafr

บาทหลวงอนุรัตน์ ณ สงขลา

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูต อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Facebook


banner face holych Custombanner_face_pmg_Custom.pngPresentation2 Custom

งานอื่นๆของฝ่าย

Slide6 CustomSlide5 Custom

เวลา

logo

ที่มา : นิตยสารแม่พระยุคใหม่, ฉบับที่ 226, ปีที่ 36 เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2019 /2562 หน้า 16-17)

     ในวัดคาทอลิกหลายๆแห่ง ตรงบรรณฐาน (ที่อ่านบทอ่าน) เราจะมองเห็นรูปปั้น หรือภาพสัญลักษณ์ของผู้นิพนธ์พระวรสารทั้งสี่ ภาพที่ปรากฏอยู่นั้นก็คือ รูปคนมีปีก สิงโตมีปีก วัวมีปีก และนกอินทรี อันที่จริงภาพเหล่านี้ มีที่มาจากพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม ในหนังสือประกาศกเอเสเคียล 1:5
“รูปร่างของสัตว์นั้นเป็นเช่นนี้ คือมรสัณฐานเหมือนมนุษย์ แต่สัตว์ทุกตัวมีหน้าสี่หน้า และมีปีกสี่ปีกทุกตัว...สัณฐานหน้าของมันทุกตัวมีหน้าเหมือนหน้าคน สัตว์ทั้งสี่มีหน้าสิงห์อยู่ด้านขวา มีหน้าวัวอยู่ด้านซ้าย มีหน้านกอินทรีอยู่ด้านหลัง”

     เมื่อกลับมาพิจารณาสิ่งที่พระวรสารทั้งสี่ต้องการสื่อความหมายแห่งความรอด จึงปรากฏความสอดคล้องตามแง่มุมต่างๆดังนี้

stmatthew

คนมีปีก - สัญลักษณ์ของนักบุญมัทธิว
     นักบุญมัทธิวเริ่มต้นพระวรสารของท่าน ด้วยเรื่องราวการลำดับพระวงศ์ของพระเยซูเจ้า เพื่อแสดงให้เห็นความเป็นมนุษย์แท้ของพระองค์ นั่นคือพระบุตรของพระเจ้าทรงรับเอาเนื้อหนังเป็นมนุษย์
     ข้อเตือนใจ คือ คุณลักษณะของผู้เป็นคนหรือมนุษย์นั้นคือความมีเหตุผล ดังนั้น พระวรสารโดยนักบุญมัทธิวจึงเตือนใจเราคริสตชนว่า คริสตชนต้องใช้เหตุผลเพื่อไปสู่ความรอด ไม่ใช่เอาแต่รอคอยอัศจรรย์หรืองมงายกับเรื่องทางไสยศาสตร์

stmark

สิงโตมีปีก - สัญลักษณ์ของนักบุญมาระโก
นักบุญมาระโกเริ่มต้นพระวรสารของท่าน ด้วยเรื่องราวของนักบุญยอห์นบัปติสต์ "เสียงร้องในถิ่นทุรกันดาร" ดังเสียงของ "สิงโตคำราม" ยอห์นเป็นผู้นำหน้าพระเยซูเจ้า ท่านจึงนำทางไปสู่ความคิดเรื่องพระเยซูเจ้าเป็นดั่งสิงโต ลักษณะธรรมชาติของสิงโตคือเป็นเจ้าปกครองแห่งป่า
นักบุญมาระโกต้องการแสดงถึงความเป็นกษัตริย์ของพระเยซูเจ้า ในพระอาณาจักรของพระองค์ นอกจากนั้น ยังมีความคิดเชิงประยุกต์จากความเชื่อโบราณว่า เมื่อสิงโตนอนหลับในถ้ำ มันจะนอนพร้อมกับเปิดตาไว้ด้วย หมายความถึงเมื่อพระคริสตเจ้า ทรงถูกฝังไว้ พร้อมกับการที่พระองค์จะทรงกลับคืนชีพจากความตาย ความคิดเรื่องการกลับคืนชีพจากความตาย จึงแฝงไว้ในความคิดเรื่องของสิงโตนี้ด้วย

ข้อคิดเตือนใจ คือ สิงโตมีลักษณะของความกล้าหาญ พระวรสารโดยนักบุญมาระโกเตือนใจเราคริสตชนว่า คริสตชน ต้องใช้ความกล้าหาญเพื่อไปสู่ความรอด ชีวิตของนักบุญยอห์นบัปติสต์เอง ก็ได้ใช้ความกล้าหาญในการเตือนกษัตริย์เฮโรด เมื่อพระองค์ทรงทำบาปที่รับเอาภรรยาของน้องชายมาเป็นภรรยาของตน แล้วที่สุดท่านยืนยันเรื่องนี้ด้วยชีวิตของท่านเอง ความกล้าหาญของคริสตชน คือ การเป็นพยานถึงพระคริสตเจ้าหรือความถูกต้องดีงาม และที่สำคัญคือความกล้าหาญที่จะเปลี่ยนจิตใจตนเอง ให้หันหนีจากความผิดบาปต่างๆ

stluke

วัวมีปีก - สัญลักษณ์ของนักบุญลูกา
     นักบุญลูกาเริ่มต้นพระวรสารของท่าน ด้วยเรื่องของเศคาริยาห์ถวายบูชาในพระวิหารตามหน้าที่ของตน วัวเป็นเครื่องหมายของสัตว์ที่ถูกนำไปฆ่าบูชา ผู้ถวายคือสงฆ์ นักบุญลูกาต้องการแสดงให้เห็นถึงความเป็นสงฆ์ของพระคริสตเจ้า โดยที่พระองค์ถวายพระองค์เองเป็นเครื่องบูชา เพื่อไถ่บาปมนุษยชาติ

ข้อเตือนใจ คือ วัวเป็นสัญลักษณ์ของบูชาหรือการเสียสละ พระวรสารโดยนักบุญลูกาเตือนใจเราคริสตชนว่า คริสตชนต้องอุทิศตน และเสียสละในชีวิตเพื่อนำไปสู่ความรอด และเรื่องราวของพระนางมารี ก็เป็นแบบอย่างงดงามของการนอบน้อมต่อน้ำพระทัย และการรับใช้ด้วย

stjohn

นกอินทรี - สัญลักษณ์ของนักบุญยอห์น
     นักบุญยอห์นเริ่มต้นพระวรสารของท่านด้วยเรื่องของ พระวจนาตถ์ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งในโลก เป็นความสว่างและต้นกำเนิดแห่งสิ่งทั้งหลาย อาจพูดได้ว่า ท่านเริ่มพระวรสารด้วยเรื่องจากฟ้า ซึ่งหมายถึงพระผู้เป็นเจ้า ลักษณะของพระวรสารจึงเป็นเหมือน เทววิทยาที่เข้าใจยาก ท่านประสงค์จะนำผู้อ่านเพราะวรสารของท่าน ไปสู่ความคิดเรื่องการเสด็จขึ้นสวรรค์ของพระเยซูเจ้าด้วย หรือพูดอีกนัยหนึ่ง คือ ท่านกำลังแสดงให้เห็นถึงพระธรรมชาติพระเจ้าของพระเยซูเจ้านั่นเอง
ข้อเตือนใจ คือ นกอินทรีบินอยู่บนท้องฟ้าสูง เมื่อมองนกอินทรีก็เหมือนนำเรามุ่งหวังไปสู่สวรรค์ พระวรสารโดยนักบุญยอห์นเตือนใจเราว่า คริสตชนต้องมุ่งไปสู่ชีวิตนิรันดรด้วยจิตใจจดจ่อ เพื่อจะได้รับความรอด เพราะมิฉะนั้นเราจะมัวหมกมุ่นและสาละวนกับเรื่องฝ่ายโลกนี้
(ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์วัดกาลหว่าร์)

 

ศึกษาพระคัมภีร์

Catholic bible

ค้นหา

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

bkk2020

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

เรื่องมาตรการและแนวทางภาคปฏิบัติ

เพื่อการเข้าร่วมพิธีกรรมของคริสตศาสนิกชนคาทอลิก

แรงจูงใจในการประกาศพระวรสาร

 

บทความดีดี