/home/missionbkk/public_html/templates/30aug182/component.php on line 5
"> 15 ตุลาคม นักบุญ เทเรซา แห่ง อาวีลา

16100115 ตุลาคม นักบุญ เทเรซา

แห่ง อาวีลา (1515 – 1582)  

พรหมจารีและนักปราชญ์

เทเรซา เด เซเปดา อี เด อาฮูมาดา เกิดในตระกูลผู้ดีที่ร่ำรวย ที่อาวีลา ประเทศสเปน ตั้งแต่เด็กเธอมีแววส่อให้เห็นความโน้มเอียงไปสู่ชีวิตการเพ่งฌาน เธอเป็นคนที่ชอบอ่านบทเขียนของบรรปิตาจารย์ และเพราะได้อ่าบทเขียนของ นักบุญเยโรม เธอจึงได้มีกระแสเรียกเข้าเป็นนักบวช และได้เข้าอารามคาร์แมลที่บ้านเกิดของเธอ คือ ที่เมืองอาวีลา ซ่งขณะนั้นระเบียบวินัยของคณะรู้สึกไม่เข้มงวดเท่าที่ควร ทีแรกเธอเองก็ปฏิบัติเหมือนนักบวชคนอื่นๆ ก่อนที่เธอจะ

ได้เริ่มลงมือปฏิรูปครั้งใหญ่  โดยมีนักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขนเป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุน
นักบุญเทเรซา ได้ลงมือถือปฏิบัติพระวินัยเคร่งครัดที่สุด แม้ว่าเธอจะมีภารกิจหน้าที่ที่จะปฏิรูปและสร้างอารามแห่งใหม่ๆ และแม้จะมีความยากลำบากนานัปการที่เธอต้องเผชิญก็ตาม ถึงกระนั้นเธอก็ได้บรรลุถึงชีวิตการเพ่งฌานขั้นสูงสุด เรื่องนี้เราสามารรถพิสูจน์ได้จากงานเขียนของเธอเอง เช่น “บนหนทางแห่งความครบครัน” “ปราสาทแห่งชีวิตภายใน” “อัตชีวประวัติ” ฯลฯ เธอได้กล่าวว่า ชีวิตบำเพ็ญตบะของคริสตชน คือ การตอบสนองต่อพระจิตเจ้า พระองค์ทรงทำงานในตัวเราแต่ละคนตั้งแต่เราได้รับศีลล้างบาป เพื่อที่จะช่วยบันดาลเราให้เข้าได้กับรูปแบบแห่งพระบุตรพระเจ้า
ถ้าหากเราจะพิจารณานักบุญเทเรซา จากทางด้านของมนุษย์ เธอก็เป็นสตรีที่เข้าใจผู้อื่นได้ดี ร่าเริงแจ่มใส มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น น่ารัก แต่ในขณะเดียวกัน เธอเป็นหญิงที่แข็งแกร่ง ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ และมีพรสวรรค์ในการจัดการเรื่องต่างๆ เธอสิ้นใจในคืนวันที่ 4 ตุลาคม 1582 ซึ่งเป็นปีเดียวกันนั้นเองที่พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 ได้ทรงทำการแก้ไขปฏิทินใหม่ โดยให้วันรุ่งขึ้นเป็นวันที่ 15 ตุลาคม ดังนั้นการฉลอง หรือการระลึกถึงเธอ จึงต้องทำกันในวันที่ 15 ตุลาคม ตามปฏิทินใหม่
คำสอนทางด้านชีวิตภายในอันลึกซึ้งของเธอส่วนใหญ่แล้ว เราสามารถเทียบได้กับของนักบุญเอากุสตินและนักบุญเกรโกรี องค์ใหญ่ พระสันตะปาปา ดังนั้นเธอจึงสมควรที่จะได้รับการประกาศยกย่องว่าเป็น “นักปราชญ์ (หญิง) แห่งพระศาสนจักร” จากพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ในปี 1970

 

161002

 

คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ

1. การเป็นนักบวชคือ การรวมเอาการสวดภาวนาและการทำงานเข้าไว้ด้วยกัน
2. ขอให้ชีวิตภายในของเราเป็นสื่อนำความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสารไปสู่ทุกๆคนที่เราพบปะด้วย
3. ในชีวิตของเราให้เรามุ่งไปสู่พระเจ้า องค์คุณความดีสูงสุดแต่เพียงพระองค์เดียว
4. ขอพระคริสตเจ้าจงช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ที่มีหน้าที่ปรับปรุงฟื้นฟูชีวิตนักบวช

 

 

(ที่มา : ย.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช, ประวัตินักบุญตลอดปี, สมุทรปราการ, บ.สตาร์บูม อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2007, หน้า 410-411)