Get Adobe Flash player

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานฯ

Sahafr

บาทหลวงอนุรัตน์ ณ สงขลา

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูต อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Facebook


banner face holych Custombanner_face_pmg_Custom.pngPresentation2 Custom

งานอื่นๆของฝ่าย

Slide6 CustomSlide5 Custom

เวลา

1 มิถุนายน นักบุญยุสติน (ศตวรรษที่ 2 : 100 – 165) มรณสักขี

     นักบุญยุสติน เป็นนักปราชญ์ชาวปาเลสไตน์แห่งเมืองนาบลุสในแคว้นสะมาเรีย ท่านเกิดจากครอบครัวของคนต่างศาสนา แต่ว่าได้พบความจริงที่ไม่มีขอบเขตจำกัดในองค์พระคริสตเจ้า ท่านได้ทำการรวบรวมความคิดต่างๆของคริสตศาสนาไว้ในงานเขียนของท่านซึ่งได้ตกทอดถึงเราเพียง 2 เรื่องเท่านั้น คือ Apologies I-II] และ The Dialogue with Trypho

     ที่กรุงโรม นักบุญยุสติน ได้สอนโรงเรียนขึ้นแห่งหนึ่ง ในโรงเรียนแห่งนี้ท่านได้จัดให้มีโต๊ะกลมสำหรับจะถกเถียงปัญหาต่างๆทางศาสนา ท่านได้ป้องกันพระศาสนจักรจากการโจมตีของบรรดาคนต่างศาสนา ซึ่งทำให้ท่านต้องหลั่งเลือดเป็นมรณสักขี พร้อมกับเพื่อนหลายคนในสมัยจักรพรรดิมาร์คัส เอาเรลีอัส เป็นค่าความซื่อสัตย์ที่ท่านได้มีต่อพระศาสนจักร (ค.ศ.165) ท่านได้เป็นกระบอกเสียงของพระศาสนจักรที่เต็มไปด้วยความห่วงใยที่จะต้องเดินหน้าไปเผชิญกับโลก และเพื่อเปิด “การเจรจา” กับโลกเพื่อจะได้นำข่าวดีของพระศาสนจักรไปให้
     ในการอบรมบรรดาคริสตชนสำรอง คือบรรดาผู้ที่กำลังต้องการจะเป็นคริสตชน นักบุญยุสติน ได้พยายามชี้แสดงให้พวกเขาได้แลเห็นถึงสายสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดระหว่างศีลล้างบาปกับศีลมหาสนิท ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีความสำคัญมากในประวัติศาสตร์พิธีกรรมของพิธีบูชามิสซา ท่านกล่าวว่าภาวนาของพิธีบูชามิสซา (บทขอบพระคุณ) เป็นการกระทำตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำสิ่งนี้เพื่อระลึกถึงเรา” โดยไม่มีการหยุดเลยตลอดระยะเวลาเป็นศตวรรษๆ
     พระศาสนจักรเมื่อต้องการที่จะปฏิรูปปรับปรุงพิธีบูชามิสซาเสียใหม่ ได้คำนึงถึงสิ่งต่างๆที่ได้รับจากพระคริสตเจ้าและต้องการที่จะถ่ายทอดให้สัตบุรุษตามที่ควรจะต้องเป็น ทั้งต้องการที่จะสร้าง “กลุ่มสัตบุรุษ” (เทียบ PO 6) รอบๆโต๊ะศักดิ์สิทธิ์ โดยอาศัยบูชามิสซานี้ด้วย
     ทุกวันนี้มีความต้องการที่จะสร้างและหารูปแบบใหม่สำหรับการอบรมบรรดาคริสตชนสำรองที่ต้องการจะมาสู่ความเชื่อ และสำหรับบรรดาผู้ที่ได้รับศีลล้างบาปแล้ว พวกเขาต้องทำให้ความเชื่อนี้กลับมีชีวิตชีวาขึ้นมาใหม่และเจริญชีวิตในความเชื่อนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จำเป็นที่จะต้องนำเอาพระวรสารของพระเยซูเจ้ามาใช้ให้ถูกต้อง และนำเอาการอภิบาลสัตบุรุษอันมุ่งที่จะสร้าง “กลุ่มสัตบุรุษ” ให้เป็นแบบคริสตชน เปิดกว้าง มีอัธยาศัยไมตรี เต็มไปด้วยใจร้อนรน มีความรักใคร่กันฉันท์พี่น้อง ที่จะมาช่วยสนับสนุนการกลับใจอย่างแท้จริงของบรรดาคริสตชนใหม่ ทั้งเป็นการเป็นประจักษ์พยานยืนยันที่เป็นแบบอย่างอันดีงามสำหรับสมาชิกทุกคนด้วยหากขาดสิ่งนี้ก็จะทำให้ผู้ที่ได้กลับใจแล้วส่วนใหญ่ไม่สามารถยืนหยัดอยู่ในความเชื่อและในการประกอบคุณงามความดีได้ดีเท่าที่ควร
คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ
1. ขอให้เราได้สร้างกลุ่มคริสตชนที่ร่วมกันถวายบูชามิสซาด้วยความจริงใจ
2. ให้เราได้ช่วยกันสร้าง “กลุ่มคริสตชน” ของชีวิต ความเชื่อและการเคารพนมัสการ
3. ขอให้เราได้เปิดหัวใจของเราและยื่นมือช่วยเหลือบรรดาพี่น้องของเรา
4. ขอให้เราได้ช่วยกันสนับสนุนส่งเสริมความเชื่อและความหวังของบรรดาพี่น้องของเราด้วย
(ที่มา : ย.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช, ประวัตินักบุญตลอดปี, สมุทรปราการ, บ.สตาร์บูม อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2007, หน้า 213 – 214)

ศึกษาพระคัมภีร์

Catholic bible

ค้นหา

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

bkk2020

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

เรื่องมาตรการและแนวทางภาคปฏิบัติ

เพื่อการเข้าร่วมพิธีกรรมของคริสตศาสนิกชนคาทอลิก

แรงจูงใจในการประกาศพระวรสาร

 

บทความดีดี